RSS feed

ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

| | | 0 ความคิดเห็น

มาสังเกตปรากฏการณ์บนท้องฟ้ากันเถอะ

ใน อดีตกาล บรรพบุรุษของมนุษย์อาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติมากกว่าในบ้านและอาคารที่มี ความปลอดภัยสูงของปัจจุบัน บ้างก็มีความเชื่อในพระเจ้า เทวดา และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ว่ามีพลังอำนาจทำให้เกิดผลดีผลร้ายแก่มนุษย์ ผ่านปรากฏการณ์ หรือแม้กระทั่งภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง อาทิ โรคระบาด, น้ำท่วม, พายุ, การ ระบาดของแมลง เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถส่งสารผ่านสื่อเสียง แสง ที่บางครั้งสวยงาม บางครั้งน่ากลัว เช่น รุ้งกินน้ำ, พระอาทิตย์ทรงกลด, ท้องฟ้าเปลี่ยนสี, ฟ้าแลบฟ้าผ่า อีกด้วย

มนุษย์ในอดีต จึงมีความจำเป็นต้องสังเกตการณ์ท้องฟ้าอยู่บ่อยๆ เพื่อมองหา "ข้อความจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์" ที่อาจปรากฏขึ้นเมื่อใดก็ได้ และทำการระบุชนิด และตีความให้ "ถูกต้อง" และปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยเร็ว

ความเชื่อของมนุษย์ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ใน แต่ละชาติมีความเชื่อที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่หลากหลาย บ้างก็คล้ายกัน บ้างก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง คนไทยเชื่อว่าพระอาทิตย์ทรงกลด และพระจันทร์ทรงกลด เป็นสัญญาณที่ดีและเป็นมงคล และมักนำไปอ้างในทางมงคลกับกิจกรรมทางศาสนา เช่น การปลุกเสกวัตถุมงคล แต่ในช่วงหลัง มีการโยงไปเพื่ออ้างอิงในเชิงการเมืองเพิ่มขึ้น ส่วนในต่างประเทศ มีการใช้การทรงกลดในการพยากรณ์สภาพอากาศที่กำลังจะตามมา มานานแล้ว

คน ไทย มอญ ไทใหญ่ และ จีน มองรุ้งกินน้ำในทางอัปมงคล เช่น ชี้แล้วนิ้วจะกุดด้วน หรือ เป็นมังกรที่ไม่ดี ในขณะที่ฝรั่งจะมองรุ้งกินน้ำไปในทางดี เช่น มีหม้อ สมบัติอยู่ที่ปลายสายรุ้ง หรือ เป็นพันธะสัญญาของพระเจ้าในการแสดงความรักที่มีต่อสัตว์โลก

ที่ ค่อนข้างจะคล้ายคลึงกันมาก คงจะเป็นเรื่องการสังเกตสีของท้องฟ้า เพื่อใช้ในการทำนายสภาพอากาศของชาวประมง โดยชาวเรือจะไม่ยอมออกเรือ หากท้องฟ้ามีสีแดงในตอนเช้า เพราะเชื่อว่ากำลังจะมีพายุในวันนั้น

ความเชื่อของมนุษย์ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ปรากฏการณ์ และ พฤติกรรม

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

พระอาทิตย์ทรงกลด
และ
พระจันทร์ทรงกลด

ส่วน ใหญ่จะบอกว่าเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นมงคล มักมีการนำไปอ้างอิงในทางมงคลกับกิจกรรมทางศาสนา เช่น การปลุกเสกพระ แต่ในช่วงหลัง จะถูกนำมาอ้างอิงในเชิงการเมือง ว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย ที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศชาติ หรือรัฐบาลชุดปัจจุบัน

ตัวอย่างของความเชื่อ :

  • เป็น "มหิธานุภาพ" ของดวงอาทิตย์ มีความหมายในทางที่ดี มีมงคลแก่ทุกคนบนโลก (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • คนชราเผย เป็นลางบอกเหตุร้าย ที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศชาติ หรือรัฐบาลชุดปัจจุบัน (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • เพราะวันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา ก็เลยมีพระอาทิตย์ทรงกลดให้เห็นเป็นนิมิตมงคล (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • เราคิดว่ามันเป็นเพราะโลกร้อนมั๊ง เลยทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • สงสัย มีปลุกเสกจตุคามฯ...อิอิ (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • ชาว ระนองแห่จองจตุคามรามเทพ รุ่น "ทรัพย์เนืองนอง" เกิดปาฏิหาริย์พระอาทิตย์ทรงกลด ขณะผู้ว่าราชการจังหวัดประกอบพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • เพื่อนเห็นพระอาทิตย์ทรงกลด รีบกลับบ้านไปเอา จตุรามรามเทพ มาตากแดด บอกว่าเสริมพลัง (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • บน ท้องฟ้าเหนือกลุ่มผู้ชุมนุม ปรากฎการณ์ "พระอาทิตย์ทรงกลด" พลันเกิดขึ้น เหมือนดั่งจะเป็นประจักษ์พยานการต่อสู้เพื่อเอกราช และอธิปไตยของประเทศซึ่งกำลังจะเริ่มต้นขึ้น (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • แต่ที่ปรากฎเป็นน่าอัศจรรย์คือ ปรากฎการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดขึ้นถึง 3 วาระ คือ วาระเคลื่อนศพ ประมาณ 1 ชั่วโมง (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • สิ่ง ที่ตอบได้ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์คือการปลุกเสกจตุคามรามเทพไม่ได้เป็นสาเหตุทำ ให้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด แต่อาจเป็นไปได้ที่การเกิดพระอาทิตย์ทรงกลดมีความไวต่อการปลุกเสกจตุคามราม เทพ (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • ความเชื่อของชาวบ้านฝรั่ง กล่าวว่า พระอาทิตย์ทรงกลด บ่งชี้ถึงหยาดน้ำฟ้า (precipitation) ที่กำลังจะมา เนื่องจากการมาของเมฆ cirrus จะมาก่อนการมาของพายุ (ความเชื่อฝรั่ง) (ที่มาข้อมูล : WGN Weather Center Blog)
  • ความเชื่อของชาวบ้านฝรั่ง บอกว่า
    • พระจันทร์ทรงกลดคือสัญญาณที่บอกว่าสภาพอากาศที่เลวร้ายกำลังจะตามมา นี่อาจเป็นความจริงก็ได้ เนื่องจากมักจะมีเมฆ cirrus ก่อนที่แนวของอากาศอุ่นจะเคลื่อนตัวเข้ามา 1-2 วัน ซึ่งหมายถึงหย่อมความกดอากาศต่ำ(พายุ)ก็จะตามมาด้วย
    • จำนวนของดาวภายในวงของพระจันทร์ทรงกลด จะบ่งชี้ถึงจำนวนของวันที่อากาศเลวร้าย

(ที่มาข้อมูล : Rings Around The Moon)

บทความแนะนำให้อ่าน :

รุ้งกินน้ำ

สำ หรับความเชืื่อเกี่ยวกับรุ้งกินน้ำ มีปะปนกันทั้งในแง่ดีและร้ายครับ ถ้าให้สรุปเท่าที่มีข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า ฝรั่งถือว่ารุ้งกินน้ำเป็นสัญญาณในทางมงคล ส่วนพวกเอเซีย จะคิดเชื่อไปทางด้านอัปมงคลเสียมากกว่า

ตัวอย่างของความเชื่อ :

  • อย่าเอานิ้วชี้รุ้งกินน้ำ ไม่งั้นนิ้วจากุด แต่ถ้าเผลอไปชี้ต้องแก้เคล็ดด้วยการเอานิ้วจิ้มตูด (ความเชื่อไทย) (ที่มาข้อมูล)
  • ชาวจีนบางท้องที่ถือว่ารุ้งเป็นมังกรที่ไม่ดี ถ้าไปชี้แล้วจะเกิดภัยอันตราย (ที่มาข้อมูล)
  • ที่จังหวัดลำพูน (กลุ่มคนยอง) ภาษายองจะเรียกรุ้งกินน้ำว่า "ผีอีวุง" (ที่มาข้อมูล)
  • Genesis 9:13,16 -17 พระเจ้าตรัสแก่โนอาห์ว่า "คือเราจะตั้งรุ้งไว้ที่เมฆ และรุ้งนั้นจะเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาระหว่างเรากับโลก" , "เมื่อ มีรุ้งที่เมฆ เราจะดูรุ้งนั้นและระลึกถึงพันธสัญญาถาวรระหว่างพระเจ้ากับบรรดาสัตว์โลกที่ มีชีวิต ซึ่งอยู่บนโลก" , "นี่แหละเป็น เครื่องหมายแห่งพันธสัญญาที่เราได้ตั้งไว้ระหว่างเรากับบรรสัตว์โลกซึ่งอยู่ บนแผ่นดิน" ดังนั้น... เมื่อเห็นรุ้งกินน้ำ นั่นคือพระสัญญาว่าจะไม่ทำลายโลก ขอให้กลับใจเชื่อพระธรรมคำสอน จงขอบคุณในความรักมั่นคงของพระผู้สร้างที่ทรงพระเมตตาต่อมนุษยชาติ (ที่มาข้อมูล)
  • เขมร เรียกรุ้งกินน้ำ ในความหมายว่าธนูพระอินทร์ เพราะมีรัศมีโค้งข้ามฟ้าเหมือนคันธนูที่โก่งจนเต็มที่ (ที่มาข้อมูล : 108 ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี)
  • ไทยและไทใหญ่มีความเชื่อตรงกันว่า ถ้าเอามือชี้รุ้งกินน้ำแล้วนิ้วจะด้วน ต้องแก้เคล็ดด้วยการเอามือเช็ดก้น (ที่มาข้อมูล : 108 ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี)
  • ชาวมอญเชื่อว่า ถ้าชี้รุ้งกินน้ำแล้วจะโชคร้าย แต่ไม่ได้ระบุว่าจะโชคร้ายอย่างไร (ที่มาข้อมูล : 108 ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี)
  • คน จีนก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นทางตะวันออก ไม่มีใครกล้าชี้เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้โชคร้าย และมักจะทำให้เกิดแผลที่มือที่ชี้นั้น ชาวจีนยังเชื่ออีกว่า ถ้าเมื่อใดเกิดรุ้งกินน้ำ เมื่อนั้นฝนจะหยุดตกจนมีคำกล่าวที่ว่า "เหมือนมองหาเมฆเพื่อให้ได้ฝน แต่พอเห็นเมฆมาแล้วก็ไม่สบายใจ กลัวรุ้งกินน้ำจะตามมาด้วย แล้วฝนก็จะหายไปเสีย" (ที่มาข้อมูล : 108 ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี)
  • ในลัทธิบอน (Bon) ของ ทิเบตเชื่อว่า ชาวทิเบตคนแรกลงมาจากท้องฟ้าสู่ขุนเขาสูงด้วยบันไดวิเศษของรุ้งกินน้ำ ครั้นได้รับอิทธิิพลของพุทธศาสนา ชาวทิเบตยังเชื่อว่า เมื่อผู้บรรลุมรรคผลได้สิ้นชีวิตลง สังขารก็จะสลายกลายเป็นแสงงดงามของรุ้งกินน้ำ (ที่มาข้อมูล : 108 ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี)
  • The pot of gold at the end of the rainbow. (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Cliches)
  • Rainbow in the morning gives you fair warning. (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverbs)

ท้องฟ้า

การ ใช้สีของท้องฟ้าเพื่อพยากรณ์อากาศของไทยและฝรั่ง ดูแล้วค่อนข้างจะตรงกันครับ คือฟ้าสีเหลืองแดงในตอนเช้าบ่งชี้ถึงสภาพอากาศเลวร้ายที่กำลังจะมา ส่วนฟ้าสีเหลืองแดงในตอนเย็นบ่งชี้ถึงสภาพอากาศดีที่กำลังจะมา

ตัวอย่างของความเชื่อ :

  • คน โบราณเชื่อกันว่า ถ้าท้องฟ้ากลายเป็นสีเหลืองเข้มออกแดงแบบที่เรียกว่าอุกาฟ้าเหลือง จะเกิดมหันตภัยทางธรรมชาติในเร็ววัน ชาวทะเลจะไม่มีวันยอมออกเรือเลย เพราะกลัวพายุใหญ่และมรสุม สิ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า อุกาฟ้าเหลือง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดเมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง ในเวลาอย่างนั้นท้องฟ้าจะมีเฆมชั้นต่ำมาก เมฆชั้นต่ำจะมีไอน้ำมาเกาะอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้เกิดความชื้นสูง เมื่อพระอาทิตย์ส่องแสงกระทบละอองไอน้ำเหล่านี้มาสู่ตาเรา ละอองน้ำจะหักเหแสงสีแดงสู่ระบบการมองเห็นของเรา ท้องฟ้าก็กลายเป็นสีแดงส้ม อุกาฟ้าเหลืองที่แท้จึง ไม่ใช่สีเหลือง แต่เป็นสีแดงส้มมากกว่า ชาว เรือที่ใช้การสังเกตอุกาฟ้าเหลืองเป็นหลักใน การออกเรือ โดยเฉพาะในเรื่องพายุ ก็ยังใช้ได้ โดยสังเกตว่าเกิดสภาพนี้ขึ้นในเวลาใด เกิดตอนเช้าหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ถ้าท้องฟ้ามีสีแดงส้มในเวลาเช้าหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้วก็จะไม่ออก เรือ เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าจะมีพายุและลมแรง แต่ถ้าท้องฟ้ามีสีส้มแดงในช่วงตอนโพล้เพล้หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน แสดงว่ารุ่งขึ้นอากาศจะดี (ความเชื่อไทย) ( ที่มาข้อมูล : ศูนย์แบ่งปันความรู้ ม.น.ข.)
  • ผีตากผ้าอ้อม ใช้เรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในยามที่ท้องฟ้าทางทิศตะวันตก (โดย มากหลังฝนตกใหม่ๆ) แสงตะวันตกดินจะสะท้อนกลับมาสว่างเป็นแสงสีแดงอมเหลือง คนโบราณเปรียบภาพที่เห็นนั้นเหมือนผ้าอ้อมที่ผีนำออกมาตาก จึงเรียกกันว่า ผีตากผ้าอ้อม แสดงว่าอากาศจะดี (ความเชื่อไทย) ( ที่มาข้อมูล : ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม และ อุกกาฟ้าเหลือง)
  • Red sky at night, sailers delight. Red sky in the morning, sailors take warning. (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : The New York Times Practical Guide to Practically Everything)
  • Mackerel clouds in the sky, expect more wet than dry. (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : The New York Times Practical Guide to Practically Everything)

พืช

การสังเกตุพฤติกรรมของพืช ก็เชื่อว่าใช้ทำนายการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้เช่นกัน

ตัวอย่างของความเชื่อ :

  • ดอกไม้ บางชนิดจะหุบดอก เมื่อความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าพืชไม่ต้องการให้ฝนชะล้างเอาเกสรดอกไม้ให้เสียไปโดยเปล่า ประโยชน์ (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • ต้นไม้บางชนิดจะงอม้วนใบ ก่อนที่จะมีพายุ (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)

สัตว์

มีการสังเกตุพฤติกรรมสัตว์ชนิดต่างๆ ในการทำนายสภาพอากาศ รวมถึงภัยธรรมชาติ ในประเทศต่างๆ ได้แก่ จิ้งหรีด, แมลงเม่่า, หิ่งห้อย, วัวควาย, ปลา เป็นต้น

น.สพ.ชิษณุ ติยะเจริญศรี หัวหน้าแผนกบำรุงรักษาสัตว์ รพ.สัตว์สวนสัตว์ดุสิต ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจว่า :

  • " ภัย ธรรมชาติทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว พายุ หรือแม้แต่ฝนตก จะมีความสั่นสะเทือนอยู่ในตัวเอง ซึ่งความสั่นสะเทือนดังกล่าว เป็นคลื่นความถี่ ที่ต่ำเกินกว่าที่มนุษย์จะสัมผัสได้ แต่สำหรับ สัตว์ จะสามารถรับรู้ คลื่นความถี่ต่ำ ดังกล่าวได้"
  • " รูป ร่างของสัตว์ก็มีผลต่อการรับรู้เช่นกัน โดยการหนีเอาชีวิตรอดของ สัตว์เล็ก จะมีขึ้นก่อน เพราะจะต้องใช้เวลาในการเดินทางหนีมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น มด จะขน ไข่ หนีฝน ในขณะที่สัตว์ที่ใหญ่กว่าอย่าง สุนัข และ ช้าง จะไม่หนี เนื่องจากไม่เป็นอันตรายกับตัวเอง"

ตัวอย่างของความเชื่อ :

  • ฝูงแมลงเม่าบินออกจากรัง แสดงว่าพายุฝนกำลังจะตามมาในไม่กี่วัน (ความเชื่อไทย)
  • ถ้าเห็นแมลงหิ่งห้อยหรือแมลงเม่าบินขึ้นสูง แสดงว่าฝนจะตก (ความเชื่อไทย) ( ที่มาข้อมูล : สรุปข้อมูลเวทีระดับตำบลไสไทย)
  • ถ้าผึ้งอยู่ในรัง แสดงว่าฝนกำลังจะมา (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : The New York Times Practical Guide to Practically Everything)
  • นกนางแอ่นบินต่ำ แสดงถึงความกดอากาศกำลังลดต่ำ (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • วัวจะนอนมากขึ้น เมื่อความกดอากาศกำลังลดต่ำลง (ความเชื่อฝรั่ง) อาจเป็นเพราะความกดอากาศต่ำส่งผลให้ระบบย่อยอาหารของวัวแย่ลง ทำให้ไม่อยากเดินออกไปกินหญ้า ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • แมวแต่งขนบ่อยขึ้น แสดงว่าไฟฟ้าสถิตย์มีมาก (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • กาและห่านจะร้องบ่อยขึ้น เมื่อความกดอากาศกำลังลดต่ำลง (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • กวางจะลงมาจากเขาเพื่อหาที่หลบภัย เมื่อความกดอากาศกำลังลดต่ำลง (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • จิ้งหรีดจะไม่ร้อง (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • "....อุ๊ย แสงยอดชี้ให้ดูนกแก๊กกับนกแอ นทรายที่อยู่บนดอนทราย เล่าความรู้ความเชื่อให้ข้าพเจ้าฟังว่า ถ้าเห็นนกแก๊กและนกแอนทรายมาอาศัยอยู่ดอนทราย หมายความว่าแม่น้ำโขงถึงฤดูกาลน้ำลดแล้ว ต่อไปนี้น้ำจะลดระดับไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงฤดูกาลน้ำหลากคราวหน้าหมุนเวียนมาอีก เพราะนกแก๊กและนกแอนทรายเป็นนกที่วางไข่บนหาดและดอนทราย ชาวบ้านเชื่อกันมานานแล้วว่า สัตว์ต่างๆมีสัญชาตญาณพิเศษที่ผูกสัมพันธ์กับธรรมชาติ นกวางไข่บนหาดเพราะรู้ว่าน้ำจะไม่ท่วมไข่ของมันจนกว่าจะฟักเป็นตัว เหมือนกับ จิ้งกุ่งหรือจิ้งหรีดที่ลงดอนไปแล้ว แสดงว่าถึงเวลาที่น้ำลดแล้ว สัตว์พวกนี้ก็จะพากันอพยพลงมาอาศัยอยู่ตามตลิ่งเมื่อน้ำลด เสียงของจิ้งกุ่งที่ดังก้องริมฝั่งแม่น้ำหมายว่า เป็นเสียงของความอุดมสมบูรณ์ หมายถึงสีเขียวขจีของพืชผักริมน้ำ เมื่อลงมือปลูกผัก แล้วผักจะงามดี ไม่เสียหายเพราะถูกน้ำท่วม...." (ความเชื่อไทย) ( ที่มาข้อมูล : ฤดูกาลเกษตรริมโขง โดย สุภาพร นิภานนท์ โครงการแม่น้ำและชุมชน)
  • "สัญญาณ เตือนภัยอันแรก ที่ประมวลได้จากการลงพื้นที่ พูดคุยกับชาวบ้าน คือ การเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างผิดปกติ ของสัตว์ทะเล ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ร่อยหรอลงอย่างมาก จนต้องออกไปจับ ในน่านน้ำต่างชาติ จากการให้ข้อมูลของ นางกิ้มเซี้ยม แซ่โค้ว วัย 66 ปี เจ้าของร้านยิ้ม ยิ้ม ร้านอาหารทะเลชื่อดัง ในบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ทราบว่า ในรอบ 1-2 เดือน ก่อนที่จะเกิดคลื่นยักษ์ ชาวประมงในพื้นที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา สามารถวางอวนจับ "ปลิงทะเล" ได้มากผิดปกติหลายสิบเท่า ที่ น่าตกใจ ยิ่งกว่านั้น คือ ชาวประมงสามารถพบเห็น และลากปลิงทะเลติดอวนได้ง่าย ๆ ห่างจากชายฝั่งไม่ไกล ทั้งที่ตามปกติแล้ว สัตว์ทะเลชนิดนี้เป็นสัตว์ที่ดำรงชีพในน้ำลึก และจับได้ยากมาก จึงเป็นที่ต้องการของ ชาวจีน ซึ่งเชื่อว่า สัตว์ทะเลชนิดนี้ มีสรรพคุณทางยา อเนกอนันต์ และมีราคาที่สูงลิบลิ่ว ข้อมูลความผิดปกติดังกล่าว สอดคล้องกับคำให้การ ของชาวประมงบ้านน้ำเค็ม ซึ่งส่วนใหญ่บอกตรงกันว่า ในรอบ 1-2 เดือน ก่อนเกิดคลื่นยักษ์ มีเรื่องน่าอัศจรรย์ใจมาก เกิดขึ้นในท้องทะเล กล่าวคือ ปริมาณปลาที่จับได้ กลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเพิ่มขึ้นราว ๆ 10 เท่าของปริมาณที่เคยจับได้ ตามปกติ สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็น "ลางร้าย" บอกเหตุ คือ ประมาณ 10 นาที ก่อนเกิดคลื่นยักษ์ จู่ ๆ ฝูงควายที่ปล่อยให้เล็มหญ้า อยู่ตามทุ่ง ก็พากันวิ่งเตลิดขึ้นเขาอย่างไม่คิดชีวิต ทั้งที่ไม่มีการไล่ต้อนใด ๆ " (ความเชื่อไทย) ( ที่มาข้อมูล : "พุทธทำนาย" และลางร้ายจากภัยธรรมชาติ...หมะเจื้อแต่ โดย อาคม ไชยศร)

บทความแนะนำให้อ่าน :

สภาพแวดล้อมทั่วไป

ตัวอย่างของความเชื่อ :

  • คน จะได้ยินเสียงระฆังโบสถ์ได้ชัดเจนขึ้น เมื่อฝนกำลังจะตก อาจเป็นเพราะเสียงจะเดินทางผ่านอากาศได้ดีขึ้น เมื่อความชื้นในอากาศสูงขึ้น (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)
  • คนที่เป็นโรคบางอย่าง จะมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น เมื่อความกดอากาศลดต่ำลง ได้แก่ โรคข้อ, โรคฟัน, กระดูกที่กำลังจะหายจากการหัก, ตาปลา และการบวม (corns และ bunions) (ความเชื่อฝรั่ง) ( ที่มาข้อมูล : Weather Proverb)


คนไทยกับการสังเกตุปรากฏการณ์บนท้องฟ้า

จาก การลองค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ท ไม่พบข้อมูลที่แสดงว่าคนไทยสนใจบันทึกปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในอดีตกันสัก เท่าใดนัก ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่ที่ผู้คนเห็น เข้าใจ และเรียกขานชื่อถูกต้อง ก็เห็นจะเป็นปรากฏการณ์พื้นฐาน ที่เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย ได้แก่ รุ้งกินน้ำ, พระอาทิตย์ทรงกลด และ พระจันทร์ทรงกลด

ความไม่เข้าใจต่อปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ เราอาจลองสันนิษฐานว่ามีสาเหตุหลายประการ คือ :

  • คน สมัยก่อนไม่มีความสนใจที่แท้จริงต่อปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่นอกเหนือ จาก ปรากฏการณ์ที่เห็นได้บ่อยๆ เช่น รุ้งกินน้ำ และการทรงกลด เมื่อไม่สนใจ จึงไม่มีความจำเป็นต้องตั้งชื่อให้ต่างไป และเมื่อพบกับปรากฏการณ์ใหม่ จึงพยายามอธิบายสิ่งที่เห็น โดยอ้างอิงจากปรากฏการณ์อื่นๆ ที่ดูคล้าย หรือใกล้เคียงแทน
  • ปรากฏการณ์ พิเศษอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้ยาก เช่น วงพาร์เฮลิค หรือ ซันด๊อก มีความถี่ในการเกิดนานๆ ครั้ง ทำให้อาจไม่มีความสำคัญในการจดจำ หรือว่ามีการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ แต่ไม่มีการสังเกตเห็น
  • อุปกรณ์ ที่ใช้บันทึกภาพ ไม่ง่ายและแพร่หลายเช่นในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น กล้องถ่ายภาพดิจิตัล ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไป และมีอยู่กระทั่งในโทรศัพท์มือถือ เมื่อไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่แน่นอน ข้อมูลจึงสามารถสูญหายไปได้ง่าย
  • ขาดข้อมูลทางวิชาการ เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป
  • ความ จำเป็นในการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีน้อยลง เนื่องจากคนเราหันไปพึ่งพาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น การฟังการพยากรณ์อากาศทางวิทยุ แทนการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเมฆ เป็นต้น


ตำแหน่งอ้างอิงของการสังเกตุปรากฏการณ์บนท้องฟ้า

ตำแหน่ง อ้างอิงของการสังเกตปรากฏการณ์บนท้องฟ้า มีความคล้ายคลึงค่อนข้างมากกับระบบที่ใช้ในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ต่างกันตรงที่มนุษย์ที่อยู่บนพื้นโลก จะเห็นดาวได้แค่ครึ่งทรงกลมเท่านั้น แต่จะสามารถเห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้มากกว่าครึ่งทรงกลม เช่น ตำแหน่งซับโซลาร์ พ้อยท์ ที่อยู่ใต้ดวงอาทิตย์ เป็นต้น


แผนภาพแสดงวงกลมท้องฟ้า และจุดต่างๆ ที่ใช้อ้างอิงปรากฎการณ์บนท้องฟ้า
จำลองจากแผนภาพในหนังสือ Kaleidoscope Sky ของ Tim Herd

การสังเกตุปรากฏการณ์บนท้องฟ้า : ควรรู้จักจุดต่างๆ ซึ่งจะอยู่ในระนาบแนวดิ่ง ในแนวตะวันออก-ตะวันตก

O : Observer คือ ตำแหน่งของผู้สังเกตุการณ์ จะอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของทรงกลมสังเกตุการณ์

SP : Solar Point คือ ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์อยู่

AS : Antisolar Point คือ ตำแหน่งที่อยู่ตรงข้ามกับ Solar Point เมื่อใช้ผู้สังเกตุการณ์เป็นจุดอ้างอิง

SS : Subsolar Point คือ ตำแหน่งด้านล่างที่ตรงกับ SP และอยู่ในระดับเดียวกันกับ AP

AH : Anthelic Point คือ ตำแหน่งที่ตรงข้ามกับ SP ณ ความสูงเดียวกัน

Zenith คือ ตำแหน่งของจุดสูงสุดตรงศีรษะ

Nadir คือ ตำแหน่งของจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุด Zenith


ตำแหน่งการเกิดปรากฏการณ์บนท้องฟ้า

นอก จากจะต้องรู้เรื่องที่มาของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ แล้ว เราควรต้องทราบและจดจำด้วยว่า ปรากฏการณ์ต่างๆ สามารถเกิดอยู่ในตำแหน่งใดบนท้องฟ้าบ้าง


แผนภาพตำแหน่งการเกิดปรากฏการณ์บนท้องฟ้า
จำลองจากแผนภาพในหนังสือ Kaleidoscope Sky ของ Tim Herd

การหาปรากฏการณ์บนท้องฟ้า

ปรากฏการณ์

ทิศทาง

จุดศูนย์กลาง

ขนาดเชิงมุม โดยประมาณ
องศา

ตำแหน่ง

เดียวกับดวงอาทิตย์

ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

Solar Point

Antisolar Point

โคโรนา

x


x


5-15 (เส้นผ่าศูนย์กลาง)

วงกลมวงเดียว หรือหลายวง รอบดวงอาทิตย์ ขนาดจะเล็กกว่าฮาโลมาก

เมฆสีรุ้ง

x





มากกว่า 45° จาก solar point

กลอรี และ ไฮลีเก็นไชน์


x


x

5-10 (เส้นผ่าศูนย์กลาง)

วงกลมล้อมเงาที่เกิดด้านตรงข้ามของดวงอาทิตย์

รุ้งปฐมภูมิ


x


x

40-42.5 (รัศมี)
80-83 (เส้นผ่าศูนย์กลาง)

วง กลมอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ แต่จะเห็นเป็นวงโค้งเท่านั้น เนื่องจากผู้สังเกตุการณ์มักอยู่บนพื้นดิน โค้งรุ้งที่เหลือจึงถูกบดบังด้วยพื้นดิน

รุ้งทุติยภูมิ


x


x

51-54 (รัศมี)
102-108 (เส้นผ่าศูนย์กลาง)

เช่นเดียวกันกับรุ้งทุติยภูมิ แต่ขนาดวงใหญ่กว่า

ฮาโล

x


x


22 (รัศมี)
44 (เส้นผ่าศูนย์กลาง)

วงกลมรอบดวงอาทิตย์ บางครั้งอาจเป็นวงรี หรือเป็นวงกลมซ้อนกันหลายๆ วงก็ได้ หากเกิดแบบไม่สมบูรณ์ จะเห็นเป็นเพียงส่วนโค้ง (arc) ก็มี

ซันด๊อก

x


x



เป็นแถบสีรุ้ง 2 แถบ อยู่ซ้าย-ขวา ของดวงอาทิตย์ ห่าง 22° มักปรากฏบนส่วนโค้งของฮาโล เรียกอีกอย่างว่า Pahelia (แปลว่า "ข้างดวงอาทิตย์")


ที่มาภาพ : www.atoptics.co.uk

แผนภาพแสดงชื่อปรากฏการณ์ทางแสงต่างๆ

คลิปปรากฏการณ์ธรรมชาติมหัศจรรย์