RSS feed

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ รุ้งหมอก ( Fogbow )

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

| | |


Fogbow รุ้งหมอก เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนแสง ซึ่งมีความไกล้เคียงกับการเกิด รุ้งกินน้ำ แต่มีรายละเอียดปลีกย่อนที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งความงามที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน


รายละเอียดเกี่ยวกับการเกิด ปรากฏการณ์ธรรมชาติ รุ้งหมอก

  • รุ้งหมอก เกิดจากการสะท้อนแสง ซึ่งได้ทั้งจากแสงอาทิตย์ และแสงที่สร้างโดยมนุษย์ โดยจะต้องมีเงือนไขดังนี้
  • ละอองน้ำในอากาศ จะต้องมีขนาดเล็กกว่า 0.05 มิลลิเมตร (ซึ่งละอองน้ำขนาดนี้จะเล็กกว่าละอองน้ำที่ทำเกิด รุ้งกินน้ำ)
  • ผู้ ที่จะเห็นรุ้งหมอกได้ จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ แสงสาดมาจากด้านหลัง และด้านหน้าเป็นกลุ่มหมอก หรือเมฆที่มีละอองขนาดเล็กพื้นหลังต้องโปร่งโล่ง โดยมุมมองของผู้เห็นจะต้องมองกดลง(คือผู้เห็นจะต้องอยู่สูงกว่าแหล่งกำเนิด แสง และกลุ่มหมอก)
  • ถ้าพระอาทิตย์อยู่ในแนวค่อนข้างราบ จะมีโอกาสเกิด รุ้งหมอกได้สูงขึ้น
ลักษณะทางกายภาพ ของ รุ้งหมอก

  • เนื่องจากละอองน้ำมีขนาดเล็กทำให้สีของรุ้งหมอก ค่อนข้างจางไม่ชัดเจน เหมือนกับ รุ้งกินน้ำ
  • ในกรณีที่ละอองน้ำมีขนาดเล็กมากๆ จะทำให้รุ้งหมอก มีสีขาวอย่างเดียว ทำให้บางครั้งมีการเรียกรุ้งหมอกว่า รุ้งสีขาว(White bow)
  • ในกรณีที่ละอองน้ำมีขนาดสม่ำเสมอกันมากๆ จะทำให้เกิดรุ้งหมอก หลายวงซ้อนกันเข้าสู่ด้านในจุดศูนย์กลาง
  • รุ้งหมอกที่เกิดขึ้นหลายวงซ้อนกัน วงด้านในจะมีสีเข้มกว่า วงด้านนอก
  • รุ้งหมอกจะมีสีแดงอยู่ด้านนอก และสีน้ำเงินอยู่ด้านใน
คลังภาพ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ รุ้งหมอก


เป็นภาพ รุ้งหมอก ที่ปรากฏขึ้นที่ La Palma บนเกาะ Canary ช่างภาพโดย Alex Tudorica (ภาพจั่วหัวก็เป็นผลงานของช่างภาพท่านนี้ และสถานที่ภ่ายก็เป็นสถานที่เดียวกัน)


เป็น ภาพ รุ้งสีขาว คือ เมื่อเกิดรุ้งหมอก ที่ละอองน้ำมีขนาดเล็กมากๆ และสม่ำเสมอกัน รุ้งหมอกจะเป็นสีขาว และเกิดหลายวงซ้อนกัน โดยภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2005 ที่ภูเขา Wendelstein โดยในภาพบริเวณตรงกลางจะมี ปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกอย่างที่เรียกว่า Brocken spectre คือจะมีเงาขนาดใหญ่ของคนภ่ายรูป ไปปรากฏบนกลุ่มหมอก


ภาพนี้งดงามมาก เป็น รุ้งหมอก แบบเต็มวง และตรงกลางก็ปรากฏ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ Brocken spectre เช่นเดียวกับ ภาพบนเหมือนกัน โดยช่างภาพที่ถ่ายภาพนี้ก็คือ Mila Zinkova ภาพนี้ยังได้รับเลือกเป็น Picture of a day ของ Wikipedia เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2010 เป็นเครื่องการันตีความงาม ด้วยครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลิปปรากฏการณ์ธรรมชาติมหัศจรรย์